วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554


กระแสเงินสดอิสระ (free cash flow)

cash flow ดัชนีวัดสุขภาพธุรกิจ: กระแสเงินสดดูง่ายๆ

ทั้งในโลกธุรกิจ และการลงทุน สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าลูกค้าคือ กระแสเงินสด ยิ่งสำหรับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ได้ด้วยเงินเชื่อด้วยแล้ว ใครมีเงินสดดี คนนั้นก็เนื้อหอม หุ้นเองบริษัทไหนมี cash flow ดีก็แปลว่าบริษัทนั้น มีสุขภาพการเงินที่ดี (มีความสามารถในการจ่ายหนี้ได้ดี มีเงินเหลือมาปรับปรุงกิจการได้ และก็สามารถจ่ายปันผลได้ดีด้วย)


สภาพของกระแสเงินสด อาจบอกได้จาก กระแสเงินสดอิสระ

"กระแสเงินสดอิสระ" (free cash flow) คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เหลืออยู่ หลังจากหักรายจ่ายจากการลงทุน แล้ว

กิจการที่ดีนั้น ประวัติย้อยหลังของกระแสเงินสด ควรจะคงที่ หรือ โตขึ้น
การสะดุดของกระแสเงินสดอิสระ อาจบอกความไม่ปกติของภาวะการบริหารงานภายในของกิจการได้

free cash flow = cash flow from operation - capital expenditure

โดย

(1) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (cash flow from operation) คือ เงินสดที่ได้จากกิจกรรมของธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วคือ รายได้ที่เหลืออยู่หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกแล้ว

(2) รายจ่ายลงทุน (capital expenditure หรือย่อๆว่า CAPEX) คือ เงินที่ธุรกิจใช้ในการซื้อหรือปรับปรุงทรัพย์สิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ โรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้ถูกซื้อ หรือปรับปรุง เพื่อรักษาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานกิจการ
รายจ่ายนี้จะรวมทุกอย่าง ตั้งแต่ ซ่อมหลังคา จนถึงสร้างโรงงานใหม่

ซึ่งในทางบัญชีแล้ว รายจ่ายนี้อาจจะถูกกระจายออกไปเป็นรายจ่ายแต่ละปีตลอดอายุของทรัพย์สิน หรือ อาจถูกคำนวณทั้งหมดครั้งเดียวสำหรับปีที่ลงทุนไป

ซึ่งเรื่องของ รายจ่ายลงทุน ก็เป็นอีกเรื่องที่ธุรกิจอาจจัดการบัญชีเพื่อให้ได้ตัวเลขที่ต่ำ และทำให้กิจการดูดีขึ้นได้ ดังนั้นแม้กระแสเงินสดอิสระจะช่วยบอกสุขภาพทางการเงินของธุรกิจได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นคำตอบสำหรับทุกอย่าง

=== ตัวอย่าง ===
PTT

ปี 2010: ข้อมูลจาก http://ptt.listedcompany.com/misc/financials/fy10_en.pdf
หรือภาษาไทย: ข้อมูลนักลงทุน > งบการเงิน

(1) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน (งบกระแสเงินสด หน้า 11)
หรือ Net cash provided by operating activities (Statements of Cash Flows, on pp. 11) = 152,783,304,419 B

(2) รายจ่ายฝ่ายทุน (งบการเงินรวม หน้า 136)
หรือ Total capital expenditure (Consolidated financial statements, on pp. 115) = 107,973.22 MB

ดังนั้น FCF = 152,783 MB - 107,973 MB = 44,810 MB


ปี 2009: http://ptt.listedcompany.com/misc/financials/fy09_th.pdf

(1) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน = 95,649,479,739 B

(2) รายจ่ายฝ่ายทุน = 130,053.83 MB


ปี 2008: http://ptt.listedcompany.com/misc/financials/fy08_th.pdf

(1) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน = 126,060,356,907 B

(2) รายจ่ายฝ่ายทุน = 109,605.69 MB


ปี 2007: http://ptt.listedcompany.com/misc/financials/fy07_th.pdf

(1) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน = 110,143,159,005 B

(2) รายจ่ายฝ่ายทุน = 99,095.54 MB


ปี 2006: http://ptt.listedcompany.com/misc/financials/fy07_th.pdf

(1) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน = 104,470,804,405 B

(2) รายจ่ายฝ่ายทุน = 94,023.35 MB

ดังนั้น FCF ของ PTT จากปี 2006 ถึง 2011 เป็นดังนี้

ตัวแปร ปี20102009200820072006
Cash from operating152,78395,649126,060110,143104,471ล้านบาท
Capex107,973130,054109,60699,09694,023ล้านบาท
FCF44,810-34,40516,45411,04710,448ล้านบาท


จากข้างต้นจะเห็นว่าปี 2009 ที่ FCF ของ ปตท สะดุด ทีนี้ก็ต้องไปดูรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้นในปีนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น